Lanna Holy Monks ตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอ ชีวประวัติ และวัตถุมงคล ของพระบูรพาจารย์ผู้ทรงคุณ และควรบูชา ในดินแดนล้านนา เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าต่อไป โดยจะทำการ Update เป็นระยะๆ กรุณาติดตามชมครับ

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม อ.ลี้ ลำพูน

ประวัติ

 รูปเหมือนพิมพ์แกะมือโบราณ
กำเนิด  วันอังคาร ที่ 22 เมษายน พ.ศ.2456  ปี ฉลู ในสกุล ต๊ะแหงม 
บรรพชา เมื่ออายุ  13 ปี ณ.วัดแก่งสร้อย ได้ฉายา สามเณรชัยลังกา
อุปสมบท อายุ 20 ปี พ.ศ. 2475 ณ.วัดยางแปง ประเทศพม่า มีครูบาพรหมจักร เป็นพระอุปะฌาย์
มรณะภาพ  17 มิถุนายน  2543  อายุ  87 ปี 

ประวัติครูบาพรหมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน

ประวัติ
     พระสุพรหมยานเถระ หรือครูบาพรหมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน

ครูบาพรหมา พรหมจักโก  ( พระสุพรหมยานเถระ )
ชาตะ  วันอังคาร ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2441  ในสกุล พิมสาร
บรรพชา  วันที่ 24 เมษายน 2455 ขณะอายุได้ 15 ปั
อุปสมบท วันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2461 อายุได้ 20 ปี
มรณะภาพ 17 สิงหาคม พ.ศ.2527  ขณะอายุได้ 87 ปี พรรษา 67
     ครูบาท่านเกิดในสกุลพิมสาร บิดาท่านชื่อ เป็ง พิมสาร  มารดาท่านชื่อ บัวถา พิมสาร ท่านมีพี่น้องร่วมกัน 13 คน ครอบครัวนี้ประกอบอาชีพ ทำนาทำสาน บิดามารดาเป็นผู้มีศีลมีธรรม ยึดมั่นในการกุศล เข้าวัดรักษาศีลมิได้ขาด
      ต่อมาพี่ชายท่านได้อุปสมบท ( ครูบาอินทจักรรักษา วัดน้ำบ่อหลวง ) ต่อมาอีก 2 ปี ครูบาพรหมมาท่านก็อุปสมบท และหลังจากนั้น 2 ปี น้องชายของท่านก็ถึงเวลาอุปสมบทเช่นกัน ( ครูบาคำ คำภิโร - พระครูสุนทรคัมภีรญาณ )   สุดท้ายพ่อของท่านก็ออกอุปสมบท หลังจากนั้นอีก 6 ปี คือครูบาพ่อเป็ง โพธิโก วัดป่าหนองเจดีย์ ลำพูน
     หลังจากครูบาพรหมจักร ได้อุปสมบทแล้วก็ออกไปศึกษาธรรม วิชา ภาษา ด้านต่างๆ จากครูบาหลายท่าน ตามแบบของพระในล้านนาสมัยนั้น พออายุท่านได้ 24 ปี ท่านได้ตัดสิใจกราบลาครูบาอาจารย์ ญาติพี่น้อง เพื่อออกธุดงควัตร มุ่งปฏิบัติสมณะธรรม หลีกเร้นอยู่ในที่สันโดษวิเวก จากนั้นท่านก็ออกสู่ป่า จำพรรษาในป่าเขาเป็นเวลาหลายปี แถบ อำเภอจอมทอง เชียงใหม่ ลำพูน แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน ตาก และยังได้ข้ามไปจำพรรษาอยู่ในเขตพม่าถึง 5 พรรษา ซึ่งแน่นอนว่าการใช้ชีวิตแบบสมถะแบบนี้ทำได้ยาก และลำบากเป็นอย่างยิ่ง ต้องใช้ความเข้มแข็งอย่างสูง
     ราว 20 พรรษาแรก ท่านตั้งใจฝึกด้านการปฏิบัติธรรมอย่างเดียว เป็นที่เลื่อมใสของชาวเขาเผ่าต่างๆ อย่างยิ่ง   ต่อมาพระอุปัชฌาย์และญาติโยมได้นิมนต์ท่านมาจำพรรษาที่วัดป่าหนองเจดีย์ เป็นประธานสร้างโบสถ์ ศาลา กุฏิหลายหลัง  ต่อมาไปสร้างที่วัดอื่นๆ อีก จนถึงปี 2491 คระกรรมการสงฆ์ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ นายอำเภอ พร้อมศรัทธา ญาติโยม ขอนิมนต์ท่านมาจำพรรษาที่ วัดพระพุทธบาทตากผ้า เพื่อช่วยทำนุบำรุง สถานที่สำคัญแห่งนี้ต่อไป
     ครูบาพรหมจักร นั้นท่านเป็นผู้ที่รู้วาระใจคน หลายครั้งที่ท่านแสดงให้เห็นเป็นที่อัศจรรย์ บางคนว่าท่านรู้อนาคต รู้ในสิ่งที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะท่านรู้ในธรรมอย่างลึกซึ้ง สำนักวัดพระพุทธบาทตากผ้าสมัยนั้นถือเป็นหลักในการสอนด้านวิปัสสนาแก่พระภิกษุและสามเณรในเมืองเหนือยุคนั้น ท่านมีลูกศิษย์มากมาย บวชพระภิกษุสามเณรมามากมาย คุณของท่านนั้นนำมากล่าวไม่จบสิ้นครับ

..........................................................

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติครูบาชุ่ม โพธิโก วัดชัยมงคล (วังมุย) ลำพูน


ประวัติครูบาชุ่ม โพธิโก วัดชัยมงคล ลำพูน

     ครูบาชุ่ม โพธิโก เป็นชาวลำพูนโดยกำเนิด เกิดในตระกูล นันตละ ณ.บ้านวังมุย ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน เมื่อวันอังคาร เดือน ๕ เหนือ ปีกุน ขึ้น ๗ ค่ำ ปี พ.ศ. ๒๔๔๑ เป็นบุตรคนที่ ๓ ของพี่น้อง ๖ คน โยมบิดาชื่อ นายบุญ โยมมารดาชื่อ นางลุน ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๒ ปี ณ.วัดวังมุยนั้น โดยมีครูบาอินตา วัดพระธาตุขาว เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ตั้งจิตอธิษฐานไม่ฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่นั้น
     เมื่อบรรพชาแล้วได้ศึกษาปริยัติธรรม และเดินทางไปศึกษาในสำนักวัดผ้าขาว เชียงใหม่ จากนั้นไปศึกษาต่อที่วัดพระสิงห์ และวัดเจดีย์หลวง ตามลำดับ จนสามารถมีความรู้แปลหนังสือ และพระไตรปิฏกแล้วจึงเดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดวังมุย ลำพูนดังเดิม

ประวัติครูบากองแก้ว ญาณวิชโญ วัดต้นยางหลวง เชียงใหม่


ประวัติครูบากองแก้ว วัดต้นยางหลวง

     ครูบากองแก้ว วัดต้นยางหลวง อำเภอสารภี เชียงใหม่ พระอริยะสงฆ์รูปสำคัญของเชียงใหม่ เป็นผู้ที่บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายให้ความเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง ท่านถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2440 ณ.บ้านร้อง ต.ป่าบง อ.สารภี เชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 7 คน ของโยมบิดาชื่อมา โยมมารดาชื่อหล้า ครั้นพออายุได้ 14 ปี จึงเข้าบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดต้นยางหลวง ต่อมา พ.ศ.2459 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี เจ้ากาบแก้ว ณ.เชียงใหม่ เป็นโยมอุปัฏฐาก มีครูบาสิทธิ วัดศรีคำชมภู เป็นพระอุปัชฌาย์ พระคันธวงศ์ วัดศรีคำชมภูเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอินทรส วัดไชยสถานเป็นพระอนุสาวนาจารย์ และได้รับฉายาว่า ญาณวิชโย

ประวัติครูบาแก้ว ชยเสโน วัดน้ำจำ สันกำแพง เชียงใหม่


ประวัติครูบาแก้ว (ครูบาชัยยะเสนา) พระปฐมาจารย์วัดน้ำจำ

          หลวงปู่ครูบาแก้ว ท่านเกิดเมื่อวันอังคาร เดือน ๑๐ เหนือ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีสัน (วอก) จศ.๑๒๓๔ ตรงกับพ.ศ. ๒๔๑๔ ณ.บ้านน้ำจำ ต.ร้องวัวแดง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่  ๖ ในจำนวนพี่น้อง ๑๑ คน ของพ่อหนานนันตา แม่แสงปิน  สกุล ปินตาปิน อายุเพียง ๘ ขวบบิดาได้นำไปเป็นศิษย์เรียนหนังสือล้านนา สวดมนต์ กับครูบาคุณะ วัดน้ำจำ หัดสวดมนต์ ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน ฝึกหัดเรียนเขียนอ่านตัวเมืองล้านนาตามสมัยนิยม พออายุได้ ๑๐ ขวบก้ได้บรรพชาเป็นสามเณร ลุถึงเมื่ออายุได้ ๒๑ ปีจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๙ เดือนกรกฏาคม พ.ศ.๒๔๒๔ โดยมี ครูบาพระศรีวิไชย วัดป่าเป้า เป็นพระอุปัชฌาย์  ณ.พัทสีมาวัดดอนมูล ต.สันทรายมูล สันกำแพง มี พระทาริยะ วัดร้องวัวแดง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระพรหม วัดม่วงเขียว เป็นพระอนุสาวนาจารย์